กายภาพข้อเท้าหัก
Category

กายภาพข้อเท้าหัก ให้คุณกลับมาเดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ข้อเท้าหัก เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง และคนในครอบครัว เพราะเป็นภาวะที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย ตามที่ต้องการได้เหมือนเดิม หากวันนี้คุณกำลังกังวลกับปัญหาข้อเท้าหัก ขอให้สบายใจได้เลยว่าคุณสามารถใช้วิธีกายภาพข้อเท้าหัก เพื่อช่วยให้คุณกลับมาเดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะมีวิธีการกายภาพแบบไหนบ้างนั้น ตามไปดูกันเลย

การรักษากระดูกข้อเท้าหัก ก่อนที่จะทำกายภาพข้อเท้าหัก

                ก่อนอื่น เรามาดูสาเหตุการเกิดภาวะกระดูกข้อเท้าหัก และวิธีการรักษากันก่อนดีกว่า เพื่อให้คุณทำความเข้าใจอาการข้อเท้าหักของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ก่อนที่จะทำกายภาพข้อเท้าหักต่อไป

                กระดูกข้อเท้าหัก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งเกิดจากการได้รับแรกกระแทก การรับน้ำหนักมากเกินไป หรือการพลิกตัวอย่างรุนแรงของกระดูกบริเวณข้อเท้า ทำให้เกิดอาการปวด บวม จนเดินไม่ได้ หรือทำให้ข้อเท้าอยู่ในลักษณะที่ผิดรูปก็เป็นได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น การหกล้ม หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหม

                โดยการรักษากระดูกข้อเท้าหัก สามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นกับคุณ
ซึ่งทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม และให้ผลที่ดีที่สุดสำหรับคุณนั่นเอง

ใช้เฝือกเพื่อประคองกระดูก

              หากอาการไม่รุนแรง และกระดูกข้อเท้าของคุณยังมีการเรียงตัวกันอยู่ดี แพทย์จะแนะนำให้ใช้เฝือก ในการช่วยประคองกระดูกข้อเท้า ให้กลับมาเข้าที่ ใช้เวลานานตามระดับความรุนแรงของอาการ เพื่อให้กระดูกกลับมาสมานตัว เข้าที่อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด

การผ่าตัด

       แพทย์จะใช้วิธีผ่าตัด ในกรณีที่มีอาการรุนแรง คือ กระดูกข้อเท้ามีการหัก และแตก ค่อนข้างเยอะ รวมไปถึงกระดูกมีความผิดรูปอีกด้วย จึงต้องทำการผ่าตัดเพื่อใส่อุปกรณ์ ในการยึดกระดูกด้วยโลหะ ให้สมานตัว และกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้

หลังจากทำการรักษาตามวิธีการที่ถูกต้องแล้ว แพทย์จะทำการถอดอุปกรณ์ต่าง ๆ ออก เพื่อให้คุณเข้าสู่ระยะการฟื้นตัว และฝึกเดินอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ การทำกายภาพข้อเท้าหักนั่นเอง

แชร์วิธีการกายภาพข้อเท้าหัก ฟื้นฟูกระดูกข้อเท้า ที่คุณสามารถทำได้เองที่บ้าน

                เมื่อคุณทำการรักษาเรียบร้อยแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้คุณทำกายภาพข้อเท้าหัก เพื่อให้กระดูกข้อเท้าของคุณฟื้นฟูกลับเข้าสู่สภาพเดิม กลับมาเดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีหลากหลายวิธี ที่ถูกต้องตามหลักของทางการแพทย์

ฝึกหมุนข้อเท้า

       นั่งเก้าอี้ให้หลังตรง และเหยียดขาตรงทั้ง 2 ข้าง ออกไปข้างหน้า จากนั้นให้คุณฝึกหมุนข้อเท้าเป็นวงกลม หมุนเข้า และหมุนออก ควรทำเป็นประจำทุกวัน วันละ 2 – 3 ครั้ง

ฝึกความยืดหยุ่นของข้อเท้า

       นั่งบนพื้น หลังตรง เหยียดขาไปด้านหน้า และใช้ผ้าขนหนูคล้องบริเวณปลายเท้า ดึงผ้าขนหนูเข้าหาตัว จนทำให้ปลายเท้ากระดกเข้าหาตัวเช่นเดียวกัน เริ่มจากทำค้างไว้ 15 วินาที และค่อย ๆ เพิ่มเวลาให้นานเป็น 20 – 30 วินาที ทำซ้ำเป็นประจำทุกวัน เพื่อฝึกความยืดหยุ่นของข้อเท้าให้กลับมาแข็งแรง

ฝึกการทรงตัว และรับน้ำหนัก

       โดยให้คุณฝึกยืนขาเดียว บนพื้นราบ เป็นประจำทุกวัน เมื่อเริ่มทรงตัวได้ดีขึ้นแล้ว ให้เริ่มหัดกางแขนทั้งสองข้างออกช้า ๆ สลับกับการกอดอกไปด้วย ทำพร้อมกับการยืนขาเดียว

เดินแบบโป้งแตะ

       หากกระดูกข้อเท้าเริ่มแข็งแรงขึ้นแล้ว ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มให้คุณหัดเดินลงน้ำหนักได้ การกายภาพในท่าเดินแบบโป้งแตะ ก็เป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณกลับมาเดินได้เร็วขึ้น โดยให้ใช้อุปกรณ์ Walker ในการช่วยเดิน และค่อย ๆ ลงน้ำหนักบางส่วนของเท้าลงกับพื้น โดยให้เดินลงน้ำหนักที่ส้นเท้า 1 รอบ สลับกับการเดินลงน้ำหนักที่จมูกเท้าอีก 1 รอบ

                การทำกายภาพข้อเท้าหัก มีอีกหลากหลายวิธี ที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้คุณทำตามความเหมาะสมของอาการ เพื่อให้คุณกลับมาเดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เวลาฟื้นตัวอย่างเหมาะสม ขอให้คุณไม่ต้องกังวลกับอาการที่เกิดขึ้น เพียงแค่รักษาตัว ทำกายภาพบำบัดอย่างถูกวิธี และอย่าลืมดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วย