หูไม่ได้ยิน
Category

ประเภทของภาวะหูไม่ได้ยิน หูหนวกเนื่องจากเสียงดัง

หูไม่ได้ยิน หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่าความกบกพร่องทางการได้ยินและสูญเสียการได้ยิน มีสาเหตุการเกิดมาจากหลายปัจจัยรอบตัวด้วยกัน และเสียงที่เราได้ยินกันในชีวิตประจำวันทุกช่วงเวลานั้นไม่ได้มีเพียงแต่ข้อดีแต่ยังมีผลเสียที่ส่งผลต่อหูและอวัยวะรับรู้เสียงของเราได้ด้วยเช่นกัน แล้วประเภทของภาวะหูไม่ได้ยินที่มีสาเหตุมาจากเสียงดังรบกวนก็จะมี 2 ประเภท ได้แก่

  1. หูไม่ได้ยินเนื่องจากเสียงดังรบกวน
  • การสูญเสียความสามารถในการได้ยินชั่วคราว (Temporary thresholds shift : TTS)

หูไม่ได้ยิน อันมีสาเหตุมาจากเสียงที่ดังรบกวนประเภทแรกคือ การสูญเสียความสามารถในการได้ยินชั่วคราว เป็นอาการหูไม่ได้ยินประเภทหนึ่งที่มักจะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น และมักจะเกิดจากการได้ยินเสียงหรือเพลงที่ดังมากเกินไปเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้เซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่รับรู้การได้ยินมีอาการล้า ไม่สามารถแปลสัญญาณการสั่นสะเทือนเป็นคลื่นประสาทได้ อาการ หูไม่ได้ยิน นี้มักมีเสียงดังในหูเป็นอาการร่วม ควรปรับระดับความดังของเสียงที่ฟังให้ต่ำกว่า 70 เดซิเบล และควรจำกัดเวลาในการฟังอย่างน้อย 48 ชั่วโมง 

  • การสูญเสียความสามารถในการได้ยินถาวร (Permanent threshold shift : PTH)

หูไม่ได้ยิน เนื่องจากเสียงดังรบกวนประเภทที่สอง คือ การสูญเสียความสามารถในการได้ยินอย่างถาวร เป็นภาวะที่เซลล์รับเสียงมีอาการล้าจนไม่สามารถได้ยินเสียงในระดับปกติได้ ถ้ายังมีการสัมผัสเสียงอย่างต่อเนื่องอยู่ อาจจะทำให้เซลล์รับเสียงถูกทำลายอย่างถาวร ซึ่งในระยะแรกการสูญเสียความสามารถในการได้ยินจะเริ่มมีความผิดปกติที่ช่วงความถี่ 3,000 – 6,000 เฮิร์ต และจะแสดงอาการอย่างแน่ชัดที่ ความถี่ 4,000 เฮิร์ต ผู้ป่วยจะเริ่มได้ยินเสียงดังรบกวนในหู ความไวต่อการสัมผัสและรับรู้เสียงของหูจะลดลง แต่เมื่อหยุดสัมผัสเสียงการได้ยินจะดีขึ้น และอาจมีอาการปวดหูและเวียนศรีษะร่วมด้วย 

  1. หูไม่ได้ยินเนื่องจากเสียงดังมากๆ

หูไม่ได้ยิน ประสาทหูเกิดความผิดปกติเพราะมีสาเหตุมากจากการสัมผัสกับเสียงที่มีความดังมากๆ มักจะส่งผลต่ออวัยวะหูและการรับรู้เสียง โดยจะมีอาการที่เกี่ยวข้อ ไม่ว่าจะเป็น หูอื้อทันทีหลังจากได้ยินเสียงที่ดังมาก เมื่อเราได้ยินเสียงที่ดังมากจนเกินไปไม่ว่าจะเป็น เสียงปืน เสียงระเบิด เสียงพลุ หรือเสียงท่อรถแต่ง เราจะเกิดอาการหูอื้อโดยในทันที นอกจากนี้ยังมีอาการได้ยินเสียงดังในหูตลอดเวลาอีกด้วย เช่น เสียงหึ่ง เสียงวิ้ง หรือเสียงสะท้อน ควรรีบเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเพราะถือว่าเป็นสัญญาณเตือนภาวะการสูญเสียความสามารถในการได้ยิน แต่ยังคงสามารถฟังและเข้าใจคำพูดได้ดีเนื่องจากการได้ยินเสียงไม่ได้ส่งผลกระทบกับที่บริเวณความถี่ของการพูดคุย แต่เมื่อตรวจจะพบลักษณะของความผิดปกติ และอาจมีแก้วหูทะลุร่วมด้วย